บางครั้งเมื่อพูดถึงข่าวดี (พระกิตติคุณ) พระเจ้าผู้ทรงสวมบทบาทเป็นพระเจ้าผู้ทรงพระพิโรธ ทรงปรารถนาเสียสละบุตรมนุษย์เพื่อบรรเทาพระพิโรธของพระองค์ นี่เป็นข่าวดีของพระคัมภีร์ไหม? นักวิชาการหลายท่านอ้างว่าการตีความนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างทันสมัย (สนับสนุนโดยคาลวิน) เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กางเขนซึ่งก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากเมื่อเป็นการสร้างตำนานของการไถ่บาปให้เป็นภาพของความรุนแรงและภาพของพระเจ้าแห่งพระพิโรธภายในจิตใจ
แท้ที่จริงพระเยซูทรงกระทำหลายสิ่งสำเร็จผ่านการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ นั่นเป็นเหตุผลที่พระคัมภีร์สะท้อนภาพต่าง ๆ ให้แก่เราเพื่ออธิบายแง่มุมต่าง ๆ ของพระกิตติคุณ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะสรุปทุกแง่มุมของพระกิตติคุณลงในหน้าของหนังสือนี้ได้ ข้าพเจ้าจึ่งขอเน้นหัวข้อพระกิตติคุณที่โดดเด่นเพียงเรื่องเดียวที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านพระคัมภีร์ตลอดทั้งเล่ม
ในตอนต้นของพระคัมภีร์ (ปฐมการ 3:15) เราได้รับการบอกกล่าวว่าผู้ช่วยให้รอด (พระเมสสิยาห์) จะทรงกระทำให้สำเร็จ พระองค์จะบดขยี้หัวของงูและทรงทำลายพลังแห่งความชั่วร้ายที่ก่อให้เกิดความบาป ความทุกข์ทรมานและความตายที่จะเข้ามาในโลก
พระเยซูทรงเข้าใจการสิ้นพระชนม์ของพระองค์อย่างไร?
เมื่อเราในฐานะมนุษย์ได้เชื่อฟังอำนาจแห่งความชั่วร้ายในช่วงแรก ๆ เราตกเป็นทาสของพวกมันและทุกสิ่งที่พวกมันสำแดงออก: ความเห็นแก่ตัว การผิดศีลธรรม ความโลภบาปและความตาย นี่เป็นสาเหตุที่พระเยซูอ้างอิงถึงซาตาน (ซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจชั่วร้ายทั้งหมด) ว่าเป็นผู้ปกครองโลกนี้ (ยอห์น 12:31; เอเฟซัส 2: 2) ถึงแม้ว่าเราต้องการทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่เรามักจะจบลงด้วยการทำสิ่งที่ผิดเพราะลึก ๆ แล้วเราเป็นทาสของอำนาจเหล่านี้
สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่พระเยซูทรงสำแดงออกคือการเป็นเจ้าชายของโลกนี้” (ยอห์น 12:31) โดยทำลายกิจการงานของมารซาตาน (1 ยอห์น 3: 8) พระเยซูทรงสละชีวิตของพระองค์ “เป็นค่าไถ่สำหรับคนเป็นอันมาก” (มาระโก 10:45) คำว่าค่าไถ่มักใช้ในบริบทของการไถ่ถอนทาส
พระเยซูเข้าใจว่าการตายของพระองค์เป็นวิธีการปลดปล่อยเราจากการเป็นทาสจากอำนาจชั่วร้ายทั้งหมดที่นำไปสู่ความตายและบาป พระองค์โจมตีและเอาชนะผู้แข็งแกร่งที่ทำให้เราตกเป็นทาส (ลูกา 11:21-22; โคโลสี 2:15) และทรงมีชัยเหนืออำนาจชั่วร้ายทั้งหมด ทรงปลดปล่อยพวกเราจากการเป็นนักโทษและจากการจับกุมของพวกเขา
เพื่อช่วยให้เราเข้าใจการตายของพระองค์ พระเยซูไม่เพียงให้คำสอนแก่เรา แต่เป็นอาหารมื้อสุดท้าย พระเยซูทรงมีวัตถุประสงค์ในการเลือกวันปัสกาเพื่อเฉลิมฉลองและระลึกถึงพระเจ้าผู้ช่วยกู้ชาวอิสราเอลจากการเป็นทาสในอียิปต์ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตายของพระองค์เป็นที่ประจักษ์แจ้งในแสงสว่างของการอพยพ เมื่อพระเจ้าผู้ทรงช่วยกู้ชาวอิสราเอลจากการเป็นทาสของฟาโรห์ดังนั้นการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูจึงนำมาซึ่งการอพยพที่ยิ่งใหญ่กว่า พระเยซูให้เราเป็นอิสระจากศัตรูที่เลวร้ายที่สุดของเรา: อำนาจชั่วร้ายครอบงำจิตใจของเรา ทำให้เราตกอยู่ในความบาปและความตาย
ตลอดชีวิตของพระเยซู พระองค์ทรงสำแดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงสามารถและพระองค์ต้องการยกโทษบาปโดยไม่ต้องถวายเครื่องบูชา (มธ 9: 2; ลก 7:48) ท่ามกลางความทรมานและความเจ็บปวด พระเยซูทรงทูลขอพระบิดาทรงยกโทษให้กับเรา(ลก 23:34) และเพราะพระเยซูและบิดาทรงเป็นหนึ่งเดียวกันเสมอ เราจึงรู้ว่าพระบิดาทรงยกโทษให้กับเราแล้ว ดังนั้นโดยทางพระเยซูเราได้รับการอภัยบาปแล้ว
ดังนั้นผู้เชื่อกลุ่มแรกจึงประกาศการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูว่าเป็นชัยชนะที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญเหนืออำนาจแห่งความชั่วร้ายและบาปทั้งหมด พระเยซูทรงลบล้างความเสียหายที่อาดัมได้ก่อขึ้น (รม 5: 12-21; 1 คร 15:22) ผ่านทางพระเยซูเพียงผู้เดียว เราได้กลับคืนสู่ความสัมพันธ์ในฐานะเป็นปุโรหิตหลวง (1 ปต 2: 9) เพื่อที่เราจะได้สะท้อนพระฉายของพระเจ้าในตัวเราใหม่ (ปฐก 1:27) และมีชีวิตในความสัมพันธ์กับพระองค์อีกครั้ง ในขณะที่เราเดินกับพระองค์ พระองค์จะทรงรักษาหัวใจที่แตกสลาย และทำให้เราสามารถรักผู้อื่นได้อีกครั้งด้วยความรักอันงดงามของพระองค์ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากขี้เถ้ากลายเป็นความงดงาม (ลก 4:18)
ในขณะที่เราอาศัยอยู่ในโลกนี้ เราจะได้เห็นและได้สัมผัสจุดเริ่มต้นของชัยชนะนี้เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่เรารู้จากการสำแดงเปิดเผยว่าวันหนึ่งพระเยซูในฐานะกษัตริย์ พระองค์จะทรงสถาปนาอาณาจักรของพระองค์อย่างครบบริบูรณ์และมีชนะเหนือความชั่วร้ายทั้งมวล พระองค์จะทรงรื้อฟื้นสิ่งทรงสร้างทั้งหมดของพระองค์ (Col 1:20; 2 คร 5:19) เข้าสู่อาณาจักรอันงดงามของพระองค์ หลังจากนั้นความทุกข์ ความตาย ความบาปและความเจ็บปวดจะไม่มีอีกต่อไป (วว 21: 4) นี่คือพระกิตติคุณแห่งชัยชนะอันเป็นที่น่ายกย่องสรรเสริญที่ผู้เชื่อกลุ่มแรกได้ประกาศไว้ (ฮบ 2: 14-15; 1 ยอห์น 3: 8; คส 2:15)